Sleep No More.

Start spreading the news

I am leaving today

I want to be a part of it

New York, New York….

 

37 SLEEP NO MORE 2 HIRES.jpg

 

เครื่องลงจอดบนลานสนามบินเจเอฟเคทีไร เพลงนี้แว่วเข้ามาในใจทุกที บางครั้งก็ดังขึ้นจริงๆ เพราะกัปตันชอบบิวท์ผู้โดยสารว่า ถึงแล้ว… Big Apple… แต่พอไม่ได้ยินความทรงจำก็ช่วยทำงานให้แทน มันก็บรรเลงขึ้นมาเองในหัวได้ด้วยเหมือนกัน

 

เพลง New York, New York ของ Frank Sinatra สำหรับเรา คือ บทเพลงที่จับความเป็นนิวยอร์กในยุคสมัยที่เราเติบโต ทั้งด้านวิธีคิด การใช้ชีวิต และจิตวิญญาณ เพลงนี้มันให้ความรู้สึกเป็นยำรวมมิตรของผู้คน, ศิลปะ, ความรัก, เซ็กส์, ดนตรี และบรอดเวย์…

 

ตอนที่ได้โจทย์ให้เขียนบทความเกี่ยวกับนิวยอร์ก และ Sleep No More ในมุมมองของแอคติ้งโค้ช บอกเลยว่า กลัวที่จะเขียนไม่รู้ว่าจะจับอารมณ์ความคิดตัวเองได้หรือเปล่า แต่พอลงนั่ง เปิดโทรศัพท์ขึ้นมาเริ่มพิมพ์ดราฟต์แรก เพลงขึ้นเลย…ขอบคุณ Frank Sinatra ขอบคุณนิวยอร์กที่ทำให้เรามาเจอกัน

 

นิวยอร์กมันคือ บ้านหลังที่สองของเราไปแล้ว เพราะความโชคดีที่สามีเป็นคนท้องถิ่น เกิดในแมนฮัตตัน ทุกๆ ปีทั้งครอบครัวเราต้องยกโขยงไปเยี่ยมพ่อของเขา ทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับนิวยอร์กมันงอกเงยขึ้นเรื่อยๆ

 

นิวยอร์กในทุกวันนี้มันสะท้อนความรู้สึกแบบ Same thing but different ได้ดีมากๆ คือ เหมือนเดิมแต่ไม่เหมือนเดิม…จะกำกวมทำไม!? คือ มันเปลี่ยนไปเยอะมากนะในทุกๆ ปี แต่มันก็มาแล้วก็ไป เก่าไป ใหม่มาไม่ว่าจะเป็นร้านรวงต่างๆ บาร์ ผู้คน หรือแม้กระทั่ง Homeless ที่ผลัดเปลี่ยนกันไม่เว้นแต่ละปี ประหนึ่งว่า อ่อนแอก็แพ้ไป หนีไปอยู่ที่อื่น เพราะที่นี่ทุกคนมาวิ่งตามหา American Dream และจะเจอหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเป็นนักสู้ที่เต็มไปด้วย Passion เท่านั้นที่จะอยู่รอด มาถึงตรงนี้ ขอตบเข้าประเด็นมุมมองของแอคติ้งโค้ชนะ เราพูดถึงเรื่องการแสดง ไม่ว่าจะละครเวทีละครทีวี ซีรีส์หรือหนัง มันมีการแสดงซ้ำๆ ทั้งนั้น และมันก็ให้ความรู้สึกแบบนี้แหละ เหมือนเดิมแต่ไม่เหมือน… อย่างนี้ละมั้งที่ทั้งนิวยอร์กและการแสดง มันถึงเป็นเสน่ห์ที่ตรึงเราไว้ ไปไหนไม่ได้สักที วนๆ ทำมันอยู่อย่างนี้ เพราะมันมีความสนุกอยู่กับเรื่องเดิมๆ ที่ไม่เหมือนเดิม

 

นอกจากการกลับไปเยี่ยมครอบครัวของสามีแล้วในทุกๆ ปี อีกโอกาสหนึ่งในชีวิต ที่ต้องถือว่าเป็นการอัปเกรด IOS ในสัมมาอาชีพของตัวเองได้เลยคือ การที่ได้กลับไปอัปเดตเทคนิคการแสดงใหม่ๆ และการได้ไปดูบรอดเวย์โชว์ และการแสดงทางเลือกหลายต่อหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Book of Mormon ที่ตลกน้ำตาเล็ด และเสียดสีแสบทรวงไปซะหมด, Wicked แม่มดตัวร้ายแห่ง Wizard of OZ ที่เต็มไปด้วยการตีความแบบใหม่ ที่เด็กวัย 7 ขวบก็สนุกสนาน ผู้ใหญ่ก็เอนจอย และรวมไปถึง Sleep no more – interactive performance เรื่องที่ต้องเขียนถึงอันนี้ด้วย

 

หลังจากได้อีเมลคอนเฟิร์มตั๋วในราคา 97 เหรียญต่อคน เราก็ได้ฤกษ์ไปลองของกันตามที่ผู้คนเค้ารีวิว ว่าสาหัสนักหนาสำหรับการแสดงเรื่องนี้ ต้องนอนให้พอเพียง ใส่รองเท้าที่สบายเท้า เพราะทั้งวิ่งทั้งเดินกันเยอะมาก ทำเอา 4 สาว Sex and the city อย่างเราๆ ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจกันมาอย่างดี แต่ที่สรีระเป็นสาวเห็นจะมีแต่เราคนเดียว 1 สาวที่รายล้อมด้วย 3 เก้งหนุ่ม ตัวสูงหน้าตาดี ให้ความรู้สึกเป็น Queen B ตอนย่างก้าวเข้าไปในโรงแรม McKittrick ก่อนที่จะเข้าชมการแสดง บริเวณด่านแรกจะเป็นเหมือน Jazz bar ที่มีขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทางเราก็ขอจัดไปด้วย ไวน์แดงหนึ่งแก้วย้อมใจ เพราะไม่รู้จะเจออะไรหลังจากนี้ ยังไงก็ขอให้รู้สึกครึ้มอกครึ้มใจไว้ก่อน

 

และก็ไม่มีคำว่าผิดหวัง สำหรับประสบการณ์ที่เกินความคาดหมาย ฉากแรก เป็นคนเดียวท่ามกลางคนนับสิบที่ถูกตัวละครดึงเข้าไปในกระท่อมกลางป่า ตัวละครพูดคุยกับเราประหนึ่งว่าเราคือตัวละครอีกตัว ชงชาให้ดื่มด้วย จำไม่ได้แล้วว่าอร่อยมั้ย แต่ตื่นตาตื่นใจมาก ตัวละครทั้งพูดกับเรา ร้องเพลงให้ฟังด้วย แถมร้องไห้ระบายความในใจให้ฟัง ทำเอาคนที่ทำงานเกี่ยวกับการแสดงมาเกือบ 10 ปีอย่างเรา ก็เหวอเหมือนกันนะ คือ ดีอ่ะ เค้าไม่หลุดเลย แม้ว่า React เราจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ ตอนนั้น React เราก็มีทั้งงงๆ แบบ เอ๊ะ! มันพูดกับเราจริงๆ เหรอเนี่ย ปนเปไปกับ React แบบ อ่ะๆๆ เล่นตามน้ำไป พยักหน้าหงึกหงักเห็นใจ แต่ก็ไม่หลุดเลย ตัวละครในหัวเค้าคือ แข็งแรงมาก ก.ไก่สิบตัว

 

ขอไม่ลง Detail อื่นๆ ในซีนต่างๆ เพราะเชื่อว่าคนที่เข้าไปชมการแสดงเรื่องนี้แต่ละคนคงได้อรรถรสที่ไม่เหมือนกัน แต่ขอพูดในแง่มุมของโค้ชการแสดงว่า นักแสดงในเรื่องนี้ทุกคนสมาธิดีมาก คาแรคเตอร์แข็งแรงมาก และพลังงานเยอะมาก เพราะนอกจากการขับเคลื่อนเรื่องราวไปตามแกนเรื่องแล้ว นักแสดงยังต้องแสดงซ้ำๆ กันเป็น Loop ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง มันต้องใช้พลังงานมหาศาลในการทำสิ่งเดิมๆ ให้เหมือนประหนึ่งว่าเป็นครั้งแรก แถมยังไม่รู้ว่าจะเจอถานการณ์อะไรที่เป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ ขอแชร์ประสบการณ์ที่ได้เจอมากับตัว คือมีฉากหนึ่งเราเลือกเดินตามคนแคระ เข้าไปในห้องที่เขาเปิดกล่องเพื่อหยิบเข็มออกมาร้อยด้ายเข้าไป แล้วระหว่างนั้นตัวละครก็หยิบโน่นหยิบนี่อยู่ พอจะกลับมาหยิบของจากกล่องด้าย ก็มีคนจีนที่เป็นคนดูด้วยกันนี่แหละจ้า ใส่หน้ากากสีขาวเหมือนกันหยิบกล่องด้ายเค้าขึ้นมาเปิดส่อง หยิบโน่นหยิบนี่ออกมาดู เราก็ลุ้นแทบตาย ว่าไปหยิบของเขามาทำไม!?? แล้วเค้าจะทำยังไงต่อ ทำไมอยู่ไม่สุขแต่ตัดภาพไปที่นักแสดงคนแคระ เค้าก็ยังหยิบโน่นหยิบนี่ ทำ Action อื่นๆ ไปในฐานะตัวละครจนกระทั่งอีเจ๊คนจีนเอากล่องด้ายวางคืนที่เดิมพี่ตัวละครคนแคระเค้าถึงจะหยิบกล่องออกมาเปิดออกแล้วแสดงต่อไปตามเรื่องของเขา มาถึงจุดนี้บอกได้เลยว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับนักแสดงที่ต้องอยู่กับปัจจุบันแบบสุดๆ แก้ปัญหาแบบตัวละครสุดๆ เพราะนอกจากการที่เขาต้องถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครแล้ว คนดูคนอื่นๆ ก็จับจ้องเค้าว่า ตัวละครจะทำอย่างไรในสถานการณ์นี้ สถานการณ์ที่ควบคุมคนดูไม่ได้เลย เพราะมันคือ Interactive performance เมื่อคุณเปิดให้คนดูมามีส่วนร่วมนักแสดงก็ต้องพร้อมกับการจัดการกับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ในฐานะตัวละคร มันเลยสนุกเป็น Magic ของการแสดง ที่ไม่ว่าจะไปดูกี่ครั้งกี่รอบ และกี่คน แต่ละครั้ง แต่ละคนก็ได้ประสบการณ์การชมที่ไม่เหมือนกัน เพื่อนที่ไปดูด้วยกัน คนแรกคือ เบื่อมาก บอกไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจเลย อาจจะเดินตามผิดคน คนที่ 2 เป็นฝรั่งจากเวเนซุเอลา เกลียดมาก เกลียดที่คนกรูตามกัน วิ่งตามตัวละคร จะอยากรู้อะไรกันนักหนาในขณะที่คนที่ 3 คือ ว้าวมาก รู้สึกว่ามันเจ๋งมันคูล โคตรเท่ ไม่เคยมีประสบการณ์อะไรแบบนี้มาก่อน ส่วนตัวเรารู้สึกทึ่งและเคารพทั้งนักแสดงและรูปแบบการแสดงแบบนี้มาก มันอาศัยความกล้า ความสด และคำว่า In the moment ของนักแสดงที่มันยากมากๆ แต่นักแสดงในโชว์นี้ พิสูจน์ให้เห็นเลยว่า คำว่า Magic มันมีอยู่จริง แต่จะเจอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนที่ตามหา….

 

Every time our family visited New York, I would always find time to see a stage performance to broaden by my horizon as an acting coach. And one of the most memorable shows was Sleep No More, an interactive performance that went far beyond my expectation.

 

Created by British theatre company Punchdrunk, Sleep No More puts a new spin on Shakespeare’s Macbeth, resulting in a dialogue-deprived dramatic frenzy that takes place in a 1930s-era establishment called the McKittrick Hotel. Wearing white masks, the audience is allowed to roam the theatrically designed rooms, chasing characters up and down the stairs at their own liking.

 

At one point, I chose to follow a dwarf into a room. In this scene, he was supposed to thread a needle. First, he took the needle and then turned around to pick up the thread box only to see that one of the audience was mindlessly prying it open to see what was inside. For an uncomfortable moment, the dwarf continued to “search” for the box and, all of a sudden, he finally “found” it just after that person decided to give up playing with it. This particular scene was just one example that proved the unwavering concentration and quick wits of the cast throughout the entire performance.

 

In interactive performances, he audience’s participation is a ajor factor that leads to endless unpredictable circumstances. It is therefore crucial that the

performers stay focused and are

fast to improvise. But this is such a challenge when all eyes are fixed on you. Yet Sleep No More’s performers were exceptionally poised and “in the moment” that it wouldn’t be an overstatement to say that they were the reasons why this show was

nothing short of magic.

 

Text : Romchat Tanalappipat

Image : Yaniv Schulman andAlick Crossley

Special Thanks : Spark Drama Studio

Silent Knowledge.

ในงาน Design Hotels TM Arena ประจำปี 2018 ในปีนี้ เจาะลงไปลึกในประเด็นขององค์ความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้ (Silent Knowledge) ในวิธีที่จะเป็นวิธีสร้างการผูกขาดทางธุรกิจแบบชั่วคราว (Temporary Monopoly) ไว้อย่างน่าสนใจ

 

ในวิธีที่เราจะสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ หรือพูดกันง่ายๆ ว่าทำให้มีเงินใช้นั้น Kjell Nordstrom นักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนผู้เป็นองค์ปาฐกในเช้าวันนี้ เชื่อว่า การค้นหาความคิดริเริ่ม (Idea) ต่างๆ ในทางธุรกิจนั้น ล้วนมีเป้าหมายอยู่ที่การผูกขาดทางธุรกิจแบบชั่วคราวที่เรียกว่า Temporary Monopoly แทบจะทั้งสิ้นเมื่อใดที่มีการผูกขาดทางธุรกิจเกิดขึ้น นั่นคือการที่เราสามารถสร้างสินค้าหรือบริการที่ผู้อื่นไม่สามารถสร้างขึ้นในแบบเดียวกัน แม้จะในช่วงขณะเวลาหนึ่ง นั่นก็พอเพียงแล้วที่จะทำให้เราหาเงินเข้ากระเป๋าได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในโลกของธุรกิจ การทำให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริงในระบบทุนนิยม ก็มีหมุดหมายอยู่แค่ที่การสร้าง Temporary Monopoly ให้ได้ และที่เราเรียกว่ามันเป็นสภาวะชั่วคราวหรือ Temporary นั้นก็เพราะว่า ไม่มีทางเลยที่เราจะสามารถผูกขาดธุรกิจเหล่านั้นได้นานนัก ในโลกปัจจุบัน เมื่อมีการแข่งขันเกิดขึ้น ประสิทธิผลของธุรกิจเราก็จะลดลง และนั้นเป็นสาเหตุที่เราต้องมองหาความคิดหรือนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อพาเรากลับไปที่ Temporary Monopoly ให้ได้เร็วที่สุด

 

Kjell เชื่อว่าเสาหลักสามประการที่เป็นโครงสร้างที่สำคัญสำหรับโลกของธุรกิจในอนาคตนั้นประกอบไปด้วย หนึ่ง ระบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งมีการวัดผลอยู่แค่ว่าระบบนั้นๆ มีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ สอง ระบบสังคมเมือง (Urbanism) ซึ่งเป็นแนวโน้มว่าภายในปี ค.ศ. 2050 80% ของประชากร และ 90% ของระบบเศรษฐกิจบนโลกจะเกิดขึ้นในเขตเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกเท่านั้น และสาม การทำซ้ำแบบดิจิทัล (Digitalisation) อะไรก็ตามที่มีวี่แววที่จะสามารถถูกทำซ้ำได้แบบดิจิทัล ก็จะถูกทำซ้ำจนหมดสิ้น และสามองค์ประกอบนี้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะสร้างระบบเศรษฐศาสตร์ของโลกในอนาคตอันใกล้

 

และสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบการศึกษาทั้งโลกค่อยๆ ล่มสลายมหาวิทยาลัยขาดแคลนนักศึกษาก็เป็นผลพวงมาจาก Digitalisation นี่เอง องค์ความรู้ใดที่สามารถสอนได้ (Articulated Knowledge) ก็จะสามารถถูกทำซ้ำได้โดยง่าย และเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางในระบบ Internet โดยที่ไม่ต้องพึ่งพามหาวิทยาลัยในฐานะแหล่งของความรู้หรือไม่ต้องพึ่งพาอาจารย์ในการกำหนดทิศทางของความรู้นั้นอีกต่อไป องค์ความรู้ที่เป็น Articulated Knowledge ทั้งมวลจึงตกลงในมือของผู้ที่แสวงหาความรู้อย่างแท้จริงโดยไม่ต้อง พึ่งพาสถาบันการศึกษาใดๆ อีกต่อไป และหากสถาบันการศึกษาเหล่านั้นยังคงสนใจแต่การสอนที่มาจาก Articulated Knowledge แต่เพียงอย่างเดียวไปเรื่อยๆ แบบเดียวกับที่ทำมานับร้อยปี จุดจบของสถาบันการศึกษาทั้งหลายก็จะต้องมาถึงอย่างรวดเร็วในโลกของ Digitalisation นี้อย่างไม่ต้องสงสัย

 

แต่ท่ามกลางองค์ความรู้ที่เราเรียกว่า Articulated Knowledge นี้เอง Kjell ก็สังเกตว่า ยังมีองค์ความรู้อื่นที่ไม่สามารถ ‘อธิบาย’ หรือ ‘สอน’ ได้ ดังประโยคที่บอกว่า ‘เสมือนว่าเราจะรู้มากกว่าที่เราจะอธิบายได้ และสิ่งที่เราอธิบายไม่ได้ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่รู้ในสิ่งนั้น’ เช่นเดียวกับศาสตร์อีกหลายๆ อย่างที่ดูเหมือนที่จะไม่ต้องการการอธิบาย เช่น ศิลปะหรือวรรณกรรม Kjell เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นองค์ความรู้ที่ไม่ต้องการการอธิบาย หรืออธิบายไม่ได้ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นองค์ความรู้เงียบ (Silent Knowledge) ซึ่งองค์ความรู้นี้ ไม่สามารถ ‘สอน’ ไปสู่ผู้อื่นได้จากตำราหรือการเขียน แต่สามารถ ‘ถ่ายทอด’ ไปสู่ผู้อื่นได้จากการมีประสบการณ์ร่วมกันเท่านั้น

 

สิ่งที่น่าสนใจเมื่อมีการแยกแยะความหมายของ Silent Knowledge เกิดขึ้นมา ก็เริ่มทำให้เห็นว่าทำไมการถ่ายทอดความรู้บางอย่างจึงไม่สามารถทำได้แบบตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการทำงานช่าง งานศิลปะ ดนตรี หรือแม้กระทั่งสถาปัตยกรรม การ ‘สอน’ องค์ความรู้ที่เป็น Articulated Knowledge จึงสามารถทำได้แค่บางส่วนเท่านั้น องค์ความรู้ที่เหลือที่เป็น Silent Knowledge จะสามารถ ‘ถ่ายทอด’ ได้เมื่อผู้เรียนใช้เวลา ‘ฝึกวิชา’ หรือมีประสบการณ์ร่วมกับปรมาจารย์เพียงเท่านั้น จึงจะได้องค์ความรู้ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ไป เมื่อกลับมามองในระบบการศึกษาในประเทศเราในปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า สนใจกันแต่เพียง Articulated Knowledge เท่านั้น และให้ความสำคัญกับ Silent Knowledge น้อยมากๆ ซึ่งนอกจากจะนำไปสู่จุดจบของสถาบันการศึกษาอย่างไม่ต้องสงสัยแล้วนั้น ยังจะพาไปสู่จุดจบของนักเรียนและนักศึกษาไปด้วย เพราะทุกสิ่งที่เรียนรู้ไปนั้น ปราศจากองค์ความรู้เงียบเหล่านี้ไปโดยหมดสิ้น

 

การถ่ายทอดองค์ความรู้เงียบจากการอยู่ร่วมกันนี่เองที่ทำให้สังคมเมืองมีความแข็งแกร่งขึ้นในปัจจุบันและอนาคต เพราะเรามีความโหยหาที่จะมีประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งกันและกัน ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่อธิบายไม่ได้ และองค์ความรู้เหล่านี้นี่เองที่เป็นแหล่งกำเนิดของการสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ อันเป็นที่มาของTemporary Monopoly หรือการผูกขาดทางธุรกิจแบบชั่วคราวและนำไปสู่ประสิทธิภาพของระบบทุนนิยมที่เรามองหา เพื่อความแข็งแรงของเศรษฐกิจในภาพรวมของพวกเราทุกๆ คนนั้นเอง

 

it’s obvious that we only focus on giving students articulated knowledge, while failing to provide them with silent knowledge.

 

At Design Hotels TM Arena 2018, economist and writer Kjell Nordstrom points out that the formation of business ideas is performed with the sole intension to create temporary monopoly, an ideal position in which you have the power to create products and services that cannot be imitated. And although temporary, it will generate a great deal of profits.

 

Nordstrom also contends that digitalisation will have considerable influence on the global education system. This is because articulated knowledge – a coded form of information easily verbalized, repeated and accessed through the internet – will obsolete university education. Yet he also notices another type of knowledge called “silent knowledge,” which is not as easily taught or explained because it cannot be transferred in written forms and is instead passed on through shared experiences. Certain bodies of knowledge such as crafts, arts, music and even architecture cannot be taught in direct ways. It is only when the students engage in certain activities or acquire experiences shared with the teacher can they understand all the aspects of those bodies of knowledge.

 

Considering Thailand’s current education system, it’s obvious that we only focus on giving students articulated knowledge, while failing to provide them with silent knowledge. Ultimately, this will not only lead to the

breakdown of the system, but it will also mean the

downfall of the students.

 

As human beings, we all seek shared experiences from one another. These experiences are the seeds of

individual creativity that also fuel economic growth through temporary monopoly.

 

Text : Duangrit Bunnag

Illustrator : Pritika Sachanandani

Political Way of Life.

จากออสโลเมืองหลวงที่ขนาดเล็กกะทัดรัด ผู้คนเป็นมิตร แค่ทำท่าลังเล ไม่มั่นใจ บนรถราง ว่าต้องลงป้ายนี้ไหม ระหว่างทางไป Vigeland sculpture park คุณลุงใจดีก็บอก “เลยแล้วเดี๋ยวลงป้ายหน้า เดินย้อนกลับมานะ นิดเดียว” เรื่อยมาจนถึงสต็อคโฮล์มที่เวลาผมหาที่หมายไม่เจอ กางแผนที่ออกดูในสถานีรถไฟใต้ดิน พอหันไปถามทางหญิงสาวใส่โอเวอร์โค้ทวัยทำงานกำลังเดินมุ่งหน้าไปที่ทางออก เธอหยุดอธิบายอยู่แป๊บนึง แล้วบอกให้ตามมาดีกว่า เดินตามเธอออกมาข้างบน พร้อมเอาแผนที่เราไปกาง แล้วก็ ค่อยๆ อธิบายละเอียดยิบ อย่างไม่เร่งรีบ ทั้งๆ ที่เธอบอกว่านัดเพื่อนไว้แถวนี้

 

จากสต็อคโฮล์มนั่งเรือครูซลำใหญ่ 1 คืนมาที่ทัลลินน์ (Tallinn) เมืองหลวงของเอสโตเนีย เมืองเล็กๆ บนคาบสมุทรบอลข่าน เขตโซนเมืองเก่าถูกบำรุงรักษาไว้อย่างดี ให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ร้านค้า ร้านอาหารฝังตัวอยู่กับอาคารอย่างกลมกลืน เป็นเมืองมรดกโลกที่ยังคงมีชีวิตชีวา ไม่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลาเหมือนบางแห่ง!

 

เพลิดเพลินกับย่านเมืองเก่ามา 3 วัน วันสุดท้ายก่อนไปจากทัลลินน์ นั่งหาข้อมูลของมิวเซียม ที่มีอยู่หลายที่ก็มาสะดุดกับ KGB มิวเซียม ใช่แล้ว… ฟังไม่ผิดล่ะฮะ KGB* ตัวอักษร 3 ตัว ที่ลึกลับ ที่มีกิตติศัพท์ไปทั่วโลกว่าเป็นหน่วยสืบราชการลับที่สุดยอดของสหภาพโซเวียต… มาถึงล่ะ โอกาสที่จะได้รู้อะไรๆ มากขึ้นเกี่ยวกับ KGB โดยไม่ต้องจินตนาการไปเอง ผมเลยไม่ลังเล ตัดสินใจว่าจะต้องไปให้ได้

 

ตัวมิวเซียมอยู่บนชั้น 23 ของโรงแรม Viru เรารีบจ้ำไปจากที่พักซึ่งห่างไป 10 นาที เดินเท้าเพื่อจะเข้าชม ปรากฏว่าทัวร์นำชมมีเป็นรอบเวลา จำกัดคนด้วย รอบบ่าย 2 เต็ม อีกทีก็ 4 โมงเย็น เลยจองไว้ เรากลับมามาถึงล็อบบี้ของโรงแรมก่อนเวลา 5 นาที ค่านำชมคนละ 11 ยูโร หลังจากคณะมากันครบ ราว 12-15 คน กะประมาณโดยสายตา ไกด์บอกให้เราทยอยไปขึ้นลิฟต์แล้วกดขึ้นไปชั้น 22 “อ่ะ ยังไง ไหนบอกว่ามิวเซียมอยู่ชั้น 23!”

 

ลิฟต์จอดที่ชั้น 22 พวกเราออกมายืนออรออยู่ตรงระเบียงทางเดินที่เป็นกระจก มองเห็นอีกปีกที่ยื่นออกมาของโรงแรม มีเพียงทางเดินนอกตัวตึกยาวราว 10 เมตร เชื่อมอยู่ ราว 5 นาที ไกด์สาวอายุราว 40-45 ใส่แจ็กเก็ตสีแดงสด ยูนิฟอร์มของมิวเซียม นำคณะขึ้นมาสมทบ แล้วก็เริ่มเล่าที่มาของมิวเซียม เพียงแค่บทเกริ่นนำ เธอก็ดึงความสนใจของผู้เยี่ยมชมทั้งหมดไว้ได้

 

เธอชี้ให้ดูห้องที่อยู่เยื้องไปด้านบนตรงสุดทางเชื่อมนอกตัวตึก ซึ่งก็คือชั้น 23 ที่ไม่ปรากฏอยู่บนแผงกดในลิฟต์ กระจกด้านข้างมีบานเกล็ดขนาดเล็กสีขาวที่ปลายด้านล่างเอียงกระเท่เร่ปิดบังอยู่เต็มบาน ราวกับผ่านการใช้งานมานานและถูกละทิ้งอยู่อย่างนั้นเหมือนถูกปล่อยให้ปิดบังบางอย่างอยู่

37 KGB 2 HIRES.jpg

ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไป นั่นคือห้องทำการของ KGB radio center ในเอสโตเนีย เมื่อครั้งที่ประเทศยังผนวกอยู่กับสหภาพโซเวียต ห้องนี้ KGB มีเครื่องไม้เครื่องมือไว้สำหรับดักฟัง สอดแนมแขกทุกคนในโรงแรม ว่าใครพูดอะไร พูดกับใครพนักงานโรมแรมทุกคนจะจดจำใบหน้าแขกที่มาพัก ทันทีที่มีคนแปลกปลอม พวกเค้าจะเริ่มจับจ้อง มีนักท่องเที่ยวหลายคนสงสัยเกี่ยวกับชั้น 23 นี้

ว่าทำไมไม่อนุญาตให้ขึ้นไป ทางโรงแรมก็ได้แต่บอกว่า เป็นห้องธรรมดา “ห้องนั้นดูวิวไม่สวยหรอก”

แน่นอนว่าไม่มีใครเชื่อ!

 

ในยุคก่อนปี ค.ศ. 1960 ทัลลินน์ภายใต้ปีกสหภาพโซเวียตไม่มีนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่กลิ่นเงินสกุลชาติตะวันตกนั้นยั่วยวนและมีอำนาจเกินจะต้านทาน และคอมมิวนิสต์เองก็ต้องการให้โลกได้รับรู้ว่าการได้เป็นพลเมืองในโลกคอมมิวนิสต์นั้น ดีงาม ทัดเทียมไม่ต่างจากโลกเสรีตะวันตก หลังจากโรงแรม Viru ถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1972 นักท่องเที่ยวจากยุโรป ก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาเป็นทวีคูณ นักท่องเที่ยวที่ว่านี่ หมายรวมไปถึง จารชนจากโลกเสรีตะวันตกที่แฝงตัวเข้ามาด้วย เพื่อหาข้อมูลความเป็นไปของฝั่งคอมมิวนิสต์ให้ได้มากที่สุด …นี่แหละรูปแบบสนามรบในช่วงสงครามเย็น

37 KGB 1 HIRES.jpg

60 ห้อง จากห้องพักทั้งหมดถูกติดเครื่องดักฟังการสอดแนมมีอยู่ในทุกจุดของโรงแรม แม้กระทั่งบนโต๊ะอาหาร ซึ่งใครจะคิดว่าที่เขี่ยบุหรี่ก็กลายเป็นเครื่องดักฟังได้

 

มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งมีแขกมานั่งทานอาหารด้วยความที่เป็นคนไม่สูบบุหรี่ เลยหยิบที่เขี่ยบุหรี่ย้ายไปโต๊ะข้างๆ บริกรเห็นเข้ารีบวิ่งเอากลับมาวางไว้ที่เดิม แขกก็บอกอย่างสุภาพว่า “ผมไม่สูบบุหรี่” เลยหยิบออกไปอีก บริกรเห็นเข้าก็ย้ายกลับมาที่เดิม ทำแบบนี้อยู่ 3-4 รอบ ในที่สุดบริกรก็บอกแขกคนนั้นว่า “It needs to be here, ok?” ที่เขี่ยบุหรี่จำเป็นต้องอยู่ตรงนี้” เท่านั้นแหละจบบทสนทนา ความเงียบงันเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้ แขกที่มาพักรับรู้ได้ในทันทีว่ากำลังเผชิญอยู่กับอะไร

 

อีกครั้งเมื่อไกด์ชาวฟินแลนด์มาพัก ระหว่างเข้าห้องน้ำในห้องพัก เห็นกระดาษชำระในห้องน้ำตัวเองหมด แกล้งบ่นเชิงเย้ยหยันดังๆ ว่า “Look

at the communist! They can’t even afford to have proper toillet paper” …ไม่กี่อึดใจหลังจากนั้น พนักงานทำความสะอาดห้องของโรงแรมก็มาเคาะประตูห้องแล้วเอาม้วนกระดาษชำระมาให้ แต่ไม่ใช่ต้องการเอาใจ ไม่ได้อยากได้ทิป แค่อยากให้รู้ไว้ว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในโรงแรมนี้ ไม่มีทางรอดหูรอดตา KGB ไปได้เลย

37 KGB 3 HIRES.jpg

 

 

 

ส่วนจัดแสดงของมิวเซียมเป็นห้องเล็กๆ เพียงแค่ 4 ห้อง ส่วนมากจะเป็น เครื่องมือ ของใช้ รูปภาพประกอบ แต่เมื่อผนวกกับการเล่าเรื่องของไกด์นำชมของเราแล้ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เหมือนกลับมามีชีวิต ทำให้มองเห็นภาพเรื่องราวย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 50 ปีก่อนได้ชัดเจน ห้องหนึ่งที่ชอบมาก คือห้องที่จัดไว้เป็นโต๊ะทำงานของ KGB มีเครื่องพิมพ์ดีดอยู่มุมหนึ่ง มีสมุดจดบันทึก มีเอกสารต่างๆ อยู่กลางโต๊ะ อีกมุมหนึ่งมีโทรศัพท์วางอยู่ติดกัน 2 เครื่อง เครื่องสีครีมใช้โทรตามปกติทั่วไป อีกเครื่องสีเทาไม่มีหน้าปัดใดๆ แต่ในกรณีฉุกเฉิน แค่ยกหูขึ้นมา ก็จะได้พูดกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเอสโตเนียได้ในทันที

 

คนเอสโตเนียเท่าที่ผมได้สัมผัสเพียงไม่กี่วันกับการมาทัลลินน์ บาดแผลของคอมมิวนิสต์แม้จะจางหายไปมากแล้ว แต่ก็ยังคงทิ้งร่องรอยไว้บนสีหน้าที่เรียบเฉยและการยิ้มยากของผู้คน ถึงจะดูเป็นมิตร แต่ก็ดูสงวนท่าที การต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง ปราศจากความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับผู้คนในอดีต ยังคงสะท้อนอยู่ในท่าทีของผู้คน

 

ต่างกับวิถีชิวิตของผู้คนในประเทศทางสแกนดิเนเวียที่ผู้คนดูรู้สึกปลอดภัย ใช้ชีวิตอย่างรื่นรมย์ มีอิสระ เสรีภาพในความคิดสร้างสรรค์ การแสดงออกรัฐส่งเสริม สนับสนุน สร้างโอกาสให้อย่างพอเพียง เมื่อหล่อหลอมกับวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน มันสะท้อนออกมาเป็นนิสัยใจคอของคนให้ไม่รู้สึกหวาดระแวงคนแปลกหน้า สัมผัสได้เลยด้วยรอยยิ้มที่ส่งมาให้สังคมอุดมคติหรือสังคมที่เสื่อมถอย อยู่ที่รัฐกับผู้คนจะเดินทางร่วมกันไปในจังหวะก้าวเดินเดียวกัน อย่างไว้เนื้อเชื่อใจกัน เผชิญอุปสรรคและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างเอื้ออาทรต่อกัน โดยไม่ทิ้งเพื่อนร่วมทางคนใดไว้ข้างหลัง ผมเชื่ออย่างนั้น!

 

*KGB นั้นย่อมาจาก Komitet Gosudarstvennoy Bezopasnosti เป็นภาษาอังกฤษก็ Committee for State Security ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1954 เมื่อ 64 ปีที่แล้ว

 

Traveling in Estonia, I discovered the KGB* museum located on the 23rd floor of Hotel Viru in the capital city of Tallinn. I booked an 11-euro guided tour with a dozen or so other tourists and we took an elevator to the 22nd floor where we landed on a glass balcony. The guide drew our attention to a room at the end of a walkway

 

above us. Yes, this was the KGB operation room located on the mysterious 23rd floor. When Estonia was once part of the Soviet Union, this room was well equipped with tools designed for spying on the hotel guests. Many guests themselves had

suspicions about the inaccessible 23rd floor (the elevator doesn’t have a no. 23 button). But the hotel staff simply said, “Well, the view there isn’t very good.” Of course, no one believed them.

 

Built in 1972, Hotel Viru attracted tourists from all over Europe including spies from the Free World who came to perform their side of duty in the Cold War. All sixty rooms in the hotel were being watched and surveillance was at every corner.

 

One story goes that a guest entered the hotel’s restaurant and removed an ashtray from his dining table because he didn’t smoke. Noticing the ashtray was missing, a waiter quickly returned it to the table. The guest then told him he didn’t need it and removed it from the table again. After 3-4 times of this back-and-forth, the waiter snapped, “It needs to be here, OK?” Silence followed. Suddenly, the guest had a better grasp of the situation.

 

The museum exhibition had 4 small rooms displaying tools, appliances and photographs. These objects came to life when the guide explained the stories

behind them. For example, there were two telephones sitting on a desk. The cream-colored one was for general use. But the grey one with no dial was intended for an emergency. In other words, picking up the grey phone would put you directly in contact with the head of Estonia’s Communist Party.

 

Decades have passed since the collapse of the Soviet Union. The Estonians’ general mistrust towards the government has probably subsided. However, seeing their unsmiling faces and reticent demeanor, it is quite clear this nation’s past woes are still wounds not entirely healed.

 

* KGB stands for Komitet gosudarstvennoy bezopasnosti translated in English as Committee for State Security

 

Text : Sataporn Nuallaong

Photography : Sataporn Nuallaong and Pimpimol Kongkriengkrai

 

PATA Food Court.

หากจะพูดถึงห้างสรรพสินค้าย่านปิ่นเกล้า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เอ่ยถึง “พาต้า” หนึ่งในห้างฯ ที่เคยรุ่งเรื่องทันสมัยที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ นี่คือห้างฯ แห่งแรกในไทยที่มีลิฟต์แก้ว (ลิฟต์กระจกใส) อันน่าตื่นใจ และยังเป็นห้างฯ แห่งเดียวที่มีสวนสัตว์อยู่บนดาดฟ้า ซึ่งเคยมากมายไปด้วยสัตว์แปลกๆ จากต่างประเทศ เช่น หมีขาว นกเพนกวิน นกฟลามิงโก และ กอริลลา (หรือที่เรียกกันติดปากในสมัยนั้นว่า “คิงคอง”) อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะเวลากว่า 36 ปี ห้างพาต้าในปัจจุบันก็ดูหม่นรัศมีความรุ่งเรืองไปมาก ลิฟต์แก้วตัวในได้หยุดให้บริการแล้ว และสวนสัตว์ก็เหลือสัตว์เหงาๆ อยู่เพียงไม่กี่ชนิด แผนกในชั้นต่างๆ บ้างก็ถูกยุบขนาดหรือปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้เช่า เพื่อความอยู่รอดของห้างฯ ผู้คนแต่ละชั้นดูบางตาเว้นแต่ชั้นใต้ดินที่ยังคงมีผู้คนคึกคักกว่าชั้นอื่น และนั่นคือสิ่งที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้ “ฟู้ดคอร์ทพาต้า”

 

ฟู้ดคอร์ทแห่งนี้อยู่บริเวณด้านหน้าของชั้นใต้ดินซึ่งสามารถเดินลงมาจากทางเท้าหน้าห้างฯ ได้โดยตรง หรือจะลงบันไดเลื่อนจากชั้นหนึ่งมาก็ได้และเมื่อลงมายังฟู้ดคอร์ทแห่งนี้ เราจะเห็นพื้นที่ที่แบ่งส่วนสัดเป็นคูหาร้านอาหารโดยรอบอยู่ราว 20 ร้าน บางร้านเป็นเจ้าประจำที่อยู่มานาน บางร้านผลัดเปลี่ยนกันมา และบางร้านก็เหลือทิ้งไว้แค่ป้ายกับห้องโล่งๆ อาหารที่นี่จึงไม่ได้หลากหลายนัก แต่ในทางตรงกันข้าม หากเพียงปราดตาดูก็จะพบว่าโต๊ะรับประทานอาหารที่นี่ถูกจับจองไว้เกือบเต็มทุกโต๊ะ แม้ไม่ใช่ในชั่วโมงมื้ออาหาร และถ้าสังเกตจะพบว่ากว่า 80% เป็นผู้คนวัยเกษียณขึ้นไป ใช่แล้วครับ ฟู้ดคอร์ทแห่งนี้คือสถานที่พบปะของลุง ป้า น้า อา ที่ใหญ่ที่สุดในย่านปิ่นเกล้า

 

อันที่จริงบนโต๊ะเบื้องหน้าของผู้คนในฟู้ดคอร์ทแห่งนี้ไม่ได้ปรากฏเป็นจานอาหารสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่วางอยู่บนโต๊ะจะเป็นแก้วเครื่องดื่มจำพวกกาแฟและน้ำชงต่างๆ จากร้านกาแฟที่มีให้บริการถึง 4 ร้าน ซึ่งห่างกันเพียงช่วงเสาอันบ่งบอกได้ถึงความนิยมบริโภคของคนที่นี่และกิจกรรมในพื้นที่แห่งนี้ก็ดำเนินไปอย่างหลากหลาย บางท่านอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ลำพัง บางท่านนั่งสนทนากันเป็นกลุ่ม 5-6 คน ทั้งยังมีกระเป๋าและข้าวของต่างๆ วางไว้บนโต๊ะคล้ายมาร่วมปิกนิก บางท่านนั่งเพ่งกดโทรศัพท์ และบางท่านก็นั่งหลับ ที่นี่คุณจะนั่งอยู่ยาวนานเพียงใดก็ได้ อาจจะตั้งแต่เช้าจรดเย็นก็ไม่มีใครว่าอะไร นอกจากนี้ คุณจะซื้ออะไรจากนอกฟู้ดคอร์ทเข้ามารับประทานก็ได้ และดูเหมือนว่าผู้คนที่นี่จะรู้จักมักคุ้นกันดี หลายคนเดินทักทายไปตามโต๊ะต่างๆ พร้อมกับคนที่โต๊ะก็กล่าวเชื้อเชิญให้ร่วมวงสนทนา เสียงพูดคุยที่อื้ออึงอยู่ทั่วฟู้ดคอร์ทมีทั้งเรื่องสารทุกข์สุกดิบ เรื่องชีวิต สุขภาพ ลูกหลาน เศรษฐกิจ การเมือง ดังนั้น หากจะกล่าวว่าฟู้ดคอร์ทแห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่สันทนาการของผู้คนในย่านนี้ก็คงไม่ผิดนัก

 

หากจะเทียบกับฟู้ดคอร์ทของห้างฯ อื่นๆ บนถนนปิ่นเกล้า ฟู้ดคอร์ทพาต้าแห่งนี้อาจดูไม่ทันสมัยสวยงามเท่ากับที่อื่น แต่กระนั้นมันกลับแฝงไว้ด้วยเสน่ห์เฉพาะตนแห่งความสัมพันธ์ของผู้คนดังที่กล่าวมา ในขณะที่ฟู้ดคอร์ทในห้างฯ อื่นๆ ผู้คนผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาใช้บริการอย่างเร่งรีบและอาจเป็นเพียงเพื่อให้ผ่านมื้ออาหารมื้อหนึ่งไปด้วยความรวดเร็ว แต่ฟู้ดคอร์ทที่นี่มื้ออาหารกลับดำเนินไปอย่างไม่รีบร้อน หวนให้คิดถึงมื้ออาหารที่บ้าน มื้ออาหารกับคนรัก หรือกับเพื่อนฝูง ที่ทุกคนพร้อมหน้าและค่อยๆ ใช้เวลาร่วมกันทั้งยังชวนให้ตระหนักถึงสิ่งที่เราอาจหลงลืมไปในยุคสมัยอันเร่งรีบว่า บนโต๊ะอาหารนั้นจริงๆ แล้วเป็นพื้นที่ที่มากกว่าการรับประทานอาหารทว่าเป็นพื้นที่แห่งความสัมพันธ์ การพูดคุย ความอบอุ่นและความเข้าใจอีกด้วย

 

 

 

 

Once one of the trendiest shopping malls in Thailand, Pata Pinklao is now struggling to survive. Much of its department store is deserted, except for the underground floor where the food court still thrives.

 

Comprising 20 or so food stalls, this food court is fully occupied by diners who are 80% senior citizens. Looking around, you see some of them reading newspapers. Some are conversing in groups. Some are concentrating on their smartphones, while others are simply dozing off. And most of them seem to know each other. A brief moment of eavesdropping reveals conversation topics ranging from family and health to the economy and politics.

 

This place might be old and shabby, but it has unique charms that stem from interactions among its patrons. How they spend time together resembles a happy family gathering with home-cooked meals. And it reminds us that a dining table is more than just a table for dining; it’s a birthplace of conversations and relationships.

 

 

Text : Don Jumsai

Photography : Phumeth Klomsing

 

 

Paradai Chocolate.

หากกล่าวถึงช็อกโกแลต

ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากร

ทั่วโลกคงยิ้มกริ่มอยู่ในใจ

ขนมหวานสีน้ำตาลเข้มชนิดนี้

ครองใจผู้คนมาหลายชั่วคน

อะไรกันนะที่ทำให้มันพิเศษ

อะไรกันที่ทำให้เราหยุดทาน

มันไม่ได้

 

ไม่ว่าจะถูกดัดแปลงให้เป็นของหวานหรือของคาว ล้วนแล้วแต่สร้างความตื่นเต้นให้ลิ้นของเราเสมอ หลายคนอาจคุ้นชินกับช็อกโกแลตตามห้างสรรพสินค้าที่วางขายอยู่กลาดเกลื่อนหรือเจ้าดังแถบยุโรป โดยไม่รู้เลยว่ากระบวนการผลิตของโรงงานใหญ่นั้น ทำให้รสชาติของช็อกโกแลตต่างจากช็อกโกแลตโฮมเมด

 

หรืออันที่จริงแล้วเพราะเราไม่เคยชิมช็อกโกแลตดีๆ กันนะ?

 

เป็นเหตุให้คุณอิ๋ว-ภูริชญ์ ฐานะวุฑฒ์ และหุ้นส่วน เจ้าของแบรนด์ภราดัยตัดสินใจทำร้านช็อกโกแลตขึ้น มีดีกรีรางวัลระดับโลกอย่าง International Chocolate Award ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในประเทศไทย เพราะภูมิประเทศของเรานั้น โดดเด่นในด้านผลไม้เสียส่วนใหญ่และหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเมล็ดโกโก้สามารถปลูกได้ในประเทศไทย ไม่ใช่แค่เริ่มปลูกแต่ปลูกมานานนับร้อยปี เพียงแต่เกษตรกรนั้นขาดความรู้ในด้านการพัฒนาต่อยอด จึงทำให้ต่างชาติเข้ามากวาดซื้อเมล็ดโกโก้จากไทยไปขายมากมาย แต่กระนั้นคุณอิ๋วก็ได้เริ่มทำในสิ่งที่รัก โดยพัฒนามาจากความชอบส่วนตัวของเขา

 

“ภราดัย คำโบราณแปลว่าเพื่อนพ้อง มาจากชื่อของคนที่หมักเมล็ดโกโก้ เขาเป็นน้องเขยของหุ้นส่วน โดยมีหุ้นส่วนทั้งหมด 4 คน ภราดัยเป็นคนนครศรีธรรมราช โดยจุดเริ่มต้นมาจากผมเป็นคนชอบกินดาร์กช็อกโกแลต มีครั้งหนึ่งไปทำงานที่เวียดนามและได้ไปร้านคราฟต์ช็อกโกแลตชื่อดังที่ได้รับรางวัลมาหลายปี หลังจากได้ทานก็เปลี่ยนความคิดที่มีต่อช็อกโกแลตตามห้างสรรพสินค้า เราเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มันไม่มีกลิ่นสังเคราะห์ ไม่ใส่ไขมันพืชและไม่ได้ถูกคั่วจนไหม้ ทำให้เกิดความหวานและความเปรี้ยวที่ลงตัวอย่างน่าประหลาดใจ”

 

เมื่อก้าวเข้ามาในร้าน สิ่งแรกที่เด่นชัดคือกลิ่นของเมล็ดโกโก้ กลิ่นของความสดใหม่ ฟุ้งอยู่ทั่วร้าน รสชาติขมอมหวานผสมผสานเข้ากับความร้อนในอุณหภูมิที่ลงตัว และยังมีเกล็ดของช็อกโกแลตขูดอย่างหยาบๆ พอให้เคี้ยวเพลินๆ ที่พูดมาทั้งหมดนั้น คือช็อกโกแลตร้อนอันเลื่องชื่อจากทางร้าน

 

“หลังจากนั้นเราก็ไปซื้อเมล็ดโกโก้มาจากเวียดนามและในหลายๆ ประเทศ ลองค้นคว้าหาวัตถุดิบในประเทศไทยเพิ่มเติม โดยได้ทดลองเอาเมล็ดโกโก้จากหลายๆ แหล่ง มาปลูกในไทย มาทดลองทำ แต่คุณภาพก็ยังไม่ถูกใจ จนหุ้นส่วนอีกคนเขาไปที่นครศรีธรรมราชแล้วไปเจอเกษตรกรที่เขาปลูกผลโกโก้มาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า จึงเริ่มรวบรวมซื้อผลโกโก้สดจากเกษตรกร มาทำการหมักและตากด้วยวิธีเฉพาะของเรา หลังจากได้เมล็ดที่ถูกใจมาแล้ว เราก็เริ่มทดลองก่อนว่าต้องคั่วแค่ไหน น้ำตาลปริมาณเท่าไหร่ รสชาติถูกใจเราไหม พอเราได้รสชาติที่ถูกใจแล้ว ก็ลองไปซื้อช็อกโกแลตบาร์ที่ได้รางวัลมาจากต่างประเทศเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ก็ยังไม่ใกล้เคียงกันเท่าไหร่ จึงเกิดความสงสัยว่าเพราะอะไรและเขาชิมช็อกโกแลตกันอย่างไร จึงไปเรียนชิมช็อกโกแลตที่ต่างประเทศ ทำให้รู้ว่าเขาจำแนกรสชาติกันอย่างไรบ้างและใช้เกณฑ์ใดในการตัดสิน เราจึงกลับมาพัฒนาสูตรของตัวเองและเริ่มทำร้านไปด้วย โดยเอกลักษณ์ของเราคือเมล็ดโกโก้ที่มาจากนครศรีธรรมราชนั้นจะมีรสชาติของเครื่องเทศผสมอยู่ ทำให้ช็อกโกแลตของเราแตกต่างจากที่อื่น”

 

“ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกเมล็ดโกโก้ที่ประเทศบราซิลและแอฟริกาใต้ GDP เกินครึ่งหนึ่งของประเทศมาจากโกโก้ ถ้าในเอเชียจะมีประเทศอินโดนีเซียที่ปลูกเยอะที่สุด รองลงมาจะเป็นประเทศเวียดนาม สำหรับในประเทศไทยค่อนข้างน้อย เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ยางพารา ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ผลผลิตของโกโก้สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ก็จะมีช่วงที่หยุดพักของมันเองตามธรรมชาติ อย่างภาคใต้จะเป็นเดือนธันวาคมถึงมกราคม และกรกฎาคมถึงสิงหาคม หากปลูกที่อื่นก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศ”

 

“เรื่องวัตถุดิบนั้น เพราะเราซื้อมาจากเกษตรกรที่ไม่ได้ปลูกเมล็ดโกโก้เป็นหลัก เลยต้องรวบรวมหลายๆ บ้าน เพื่อให้ได้จำนวนตามที่ต้องการ อาจทำให้เกิดการผสมกันในหลายๆ สายพันธุ์เนื่องจากต้นโกโก้เป็นพืชที่ต้องผสมพันธุ์กันข้ามต้น ทำให้ผลผลิตที่เราเก็บได้นั้น ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเป็นพันธุ์ไหนกับพันธุ์ไหน เพราะในแต่ละครั้งเราก็ได้ปริมาณจากแต่ละบ้านนั้นไม่เท่ากัน”

 

คุณอิ๋วบอกว่ารสชาติต่างๆ ของช็อกโกแลตจะเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุดิบที่จัดหามาได้ ฤดูกาลนี้ไม่ได้ส้มชนิดนี้ ลองส้มชนิดอื่นและปรับสูตรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป หากมาสามเดือนละครั้ง คุณจะได้รสชาติที่ไม่ซ้ำกันเลย แต่ต้องขอยกนิ้วให้กับรสส้มโอ ที่มีีความหวานอมเปรี้ยวตัดกันได้ดี แต่หากคุณเป็นคนชอบลองของใหม่ล่ะก็คุณอิ๋วได้สร้างสรรค์รสต้มยำอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของไทยเอาไว้ เรียกได้ว่าแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้วล่ะ

  • ช็อกโกแลตของภราดัยเริ่มเป็นที่รู้จักจากอะไร

“เริ่มทำร้านช่วงสิ้นเดือนธันวาคมปี 2559 หลังจากนั้นเดือนมิถุนายน 2561 เราก็คิดว่าเราพร้อมจะส่งประกวดแล้วล่ะ รางวัลที่ได้รับการยอมรับเรื่องมาตรฐานสูงสุด คือ International Chocolate Award คนที่ตัดสินต้องเป็นคนที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี และต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในวงการช็อกโกแลตโลก ซึ่งเราได้มาทั้งหมดสองรางวัลของรอบเอเชียแปซิฟิก ใน Category Plain Origin Dark Milk Chocolate โดย Belize Dark Milk 65% ได้รางวัลเหรียญเงิน และ Nakhon Si Thammarat Dark Milk 58% ได้เหรียญทองแดง หลังจากได้รางวัล กระแสตอบรับค่อนข้างดี มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าธุรกิจช็อกโกแลตในประเทศไทยค่อนข้างใหม่ เพิ่งได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้”

 

“เริ่มมีวางที่ต่างประเทศบ้าง เช่น ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันทางร้านยังมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ เพราะว่ากระบวนการเป็นรูปแบบโฮมเมด ตอนนี้กำลังหาเครื่องจักรที่สามารถมาช่วยในเรื่องของขั้นตอนการผลิตต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า”

 

  • สินค้าชนิดไหนที่ลูกค้านิยมสั่งทานมากที่สุด

“ช็อกโกแลตร้อนกับช็อกโกแลตเย็น เพราะเรามองถึงความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยจากประสบการณ์ที่ได้ไปลองชิมช็อกโกแลตของประเทศต่างๆ เช่น เวียดนามและญี่ปุ่นต่างแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นออกมาได้ดี ทำให้เราอยากดึงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศเราให้ผู้บริโภคได้รับรู้ อย่างตัว Bonbon Chocolate ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเป็นตะวันออกและตะวันตก ผสมผสานเข้าด้วยกัน สื่อความเป็นไทยออกมาในรสชาติ”

 

ช็อกโกแลตสัญชาติไทยชิ้นนี้จะต่อยอดพัฒนาให้กลายอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้หรือไม่? เกษตรกรจะหันมาปลูกเมล็ดโกโก้แทนยางพาราไหม? ได้แต่หวังว่าอุตสาหกรรมนี้จะพัฒนาไปได้ไกล ประเทศแถบร้อนอย่างเรา จะได้มีมากกว่าแค่มะม่วงอร่อย อีก 20 ปี เราอาจขึ้นชื่อว่าประเทศนี้โกโก้อร่อยด้วย ขนมหวานสีน้ำตาลเข้มชนิดนี้ มีเรื่องราวมากมายกว่าแค่คำว่าอร่อย อร่อยแบบไหน อร่อยของใคร ต่างแตกหน่อไปได้อีกหลายพันรสชาติ ว่าแล้วก็ไปเปิดตู้เย็นหาช็อกโกแลตทานกันเถอะ

37 PARADAI 005A1410 HIRES.jpg

Paradai is an ancient Thai word,

meaning friends or companions.

We aim to give customers an experience that’s uniquely local.

 

 

With Thailand’s tropical weather, it’s unsurprising that cocoa trees have been planted in this country for more than a hundred years. But most Thai cocoa growers lack adequate bodies of knowledge that would enable them to add values to their cocoa beans. And that was part of the reasons why Phurich Tanawut, co-owner of award-winning chocolatier Paradai, decided to create their craft chocolate.

 

“Paradai is an ancient Thai word, meaning friends or companions. It’s also the name of the person who handles the fermentation of our cocoa beans whose hometown is in Nakhon Si Thammarat province where we get our main ingredient,” explains Phurich.

“It all started from our love for dark chocolate. I once visited an award-winning craft chocolatier in Vietnam. After trying their chocolate, I realized it tasted so much better than the chocolate on supermarket shelves. Their chocolate had neither artificial flavorings nor vegetable oil. And the beans weren’t toasted till burnt and bitter. And it had the right balance between sweet and tangy tastes. Suddenly, my whole outlook on chocolate changed.”

 

When entering Paradai’s shop, the first thing that hits your nose is the fresh cocoa scent. Their famous hot chocolate is a divine bitter-and-sweet marriage. The added chocolate shavings on top create an extra texture to this cup of absolute indulgence.

 

“After that trip, we began buying cocoa beans from Vietnam and many other countries, and started planting them in Thailand. But we weren’t satisfied with the results. Then one of my business partners had a chance to meet the cocoa growers who had been growing cocoa in Nakhon Si Thammarat ever since their grandparents’ generation. With these new beans, we used a special method to ferment and dry them. Then came the process of toasting the beans, and also deciding how much sugar to add to the chocolate. Then we tried various award-winning chocolate bars, comparing them to our chocolate. We found that ours still didn’t live up to the expectations. So I decided to apply for a chocolate tasting course abroad where I learned how to distinguish the nuanced tastes of chocolate and the criteria for awarding chocolate. I came back to Thailand and started to tailor the taste of our chocolate accordingly. At the same time, we began building this chocolate shop,” the owner elaborates on their early days.

 

Paradai’s chocolate began to gain recognition after winning prestigious awards. “In June 2018, we sent our chocolate to compete in the International Chocolate Award, whose judges were renowned chocolate connoisseurs. Among the Asia Pacific countries, our Belize Dark Milk 65% won the silver prize and our Nakhon Si Thammarat Dark Milk 58% won the bronze prize in the Plain Origin Dark Milk Chocolate Category.”

 

According to Phurich, cocoa beans from Nakhon Si Thammarat have a uniquely spicy note. “To reach the quantity we need, we collect the beans from various small-scale cocoa farmers. This results in the fact that our beans are a special blend of different kinds of cocoa. There’s no way to tell how much of what beans we actually use in each batch.”

 

Phurich also explains that the shop changes the chocolate flavors in accordance with the seasonal ingredients they acquire. Every three months, you’ll see an entirely new assortment of chocolates.

 

One of the most memorable flavors is Pomelo, which strikes a flawless sweet-and-sour balance. We’re also intrigued by the Tom Yum flavor, which incorporates the distinctive taste of Thailand’s famous sweet and sour soup. “Our most popular items are chocolate bars, hot chocolate and iced chocolate. We aim to give customers an experience that’s uniquely local. Our products, such as the Bonbon Chocolate, reflect this desire to combine the East and the West, while showcasing the best of Thai tastes,” says Phurich.

 

Text : Jularat Hanrungroj

Photography : Kong Pantumachinda

Retouching : Nutcha Harnpukdipatima

 

Make Art Not War: Dance Movement Psychotherapy.

ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวที่สร้างประสบการณ์เพื่อการบำบัดจิตใจ

 

ในตอนนี้ผ่านมา เราพูดถึงงานศิลปะที่ไม่ได้เพียงแค่นำเสนอความงามทางสายตาแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นงานศิลปะที่สื่อสารประเด็นทางสังคมและการเมืองด้วยร่างกาย, งานศิลปะที่สื่อสารประเด็นทางจิตวิญญาณและเรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติ, งานศิลปะที่สำรวจพรมแดนของศิลปะกับงานสร้างสรรค์แขนงอื่นๆ ในตอนนี้เราจะขอกล่าวถึงงานศิลปะอีกแขนงที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อผู้คนอย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ ศิลปะบำบัด (Art therapy) และศิลปินศิลปะบำบัด ที่เราจะนำเสนอในคราวนี้ก็เป็นศิลปินไทยอย่าง ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นั่นเอง

 

ดุจดาวเป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปินศิลปะการแสดง/ผู้กำกับการแสดง ของกลุ่มละครร่วมสมัยบีฟลอร์ (B-floor Theatre) เจ้าของผลงานศิลปะการแสดงอย่าง Blissfully Blind (2017) ที่ หอศิลป์ Bangkok CityCity Gallery, Secret Keeper Theatre (2012 – 2015) ที่ Bangkok Art and Culture Center, Wonderfruit Festival, The Other Room Project ฯลฯ และเป็นศิลปินรับเชิญผู้กำกับและแสดงศิลปะการเคลื่อนไหวในผลงานวิดีโอจัดวางที่เป็นส่วนหนึ่งของผลงานศิลปะชุด 246247596248914102516… And then there were none (2017) ของ อริญชย์ รุ่งแจ้ง ที่แสดงในมหกรรมศิลปะ Documenta ครั้งที่ 14 ปี 2017 ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี, เธอยังเป็นหนึ่งในศิลปินที่เข้าร่วมแสดงในเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

 

ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว (Dance Movement Psychotherapist) คนแรกของประเทศไทยที่จบการศึกษาทางด้านนี้มาโดยตรงจากความสงสัยว่าเหตุใดการเคลื่อนไหวร่างกายจึงมีผลทำให้จิตใจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และเธอจะทำงานร่วมกับจิตใจผ่านทางร่างกายได้อย่างไร เธอจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบัน Goldsmiths University ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษา เธอนำศาสตร์ที่เรียนรู้ผสมผสานกับศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกายมาใช้ ทั้งในการบำบัดจิตของผู้ป่วยจริงๆ และในการทำงานศิลปะที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวในสังคม ผ่านการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่สิ่งก่อสร้าง และคนดู เปิดโอกาสให้ผู้ชมใช้ประสบการณ์ของพวกเขาในการคิดและเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับผลงานเธอนิยามงานตัวเองว่า Experiential Performance (การแสดงเชิงประสบการณ์) ซึ่งสิ่งที่ต้องการจะสื่อไม่ใช่แค่สิ่งที่ผู้ชมมองเห็น หากแต่เป็นประสบการณ์ของผู้ชม ณ เวลาที่ได้อยู่ในงาน

 

ดังเช่นในผลงาน Secret Keeper ที่เป็นการตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้วเรามีพื้นที่ปลอดภัยจริงไหมในสังคมที่อยู่ร่วมกัน และเราจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยขึ้นมาได้อย่างไร? เธอจึงหาวิธีที่ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยพอที่จะแบ่งปันความลับผ่านกระบวนการทบทวนและข้อตกลงต่างๆ จนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจแบ่งปันความลับให้และนำความลับเหล่านั้นแปรเปลี่ยนให้เป็นศิลปะการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการบำบัดแก่ผู้ชม กระบวนการทางศิลปะนี้ เป็นเสมือนหนึ่งหลักฐานของความเชื่อใจกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ ที่สามารถต่อยอด แบ่งปัน เรียนรู้ และแสวงหาภาษาใหม่ๆ ในการทำงานศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวเพื่อบำบัดจิตใจนั่นเอง

 

In this issue, we explore the profound effects art therapies have on humans. One of the leading people in this artistic realm is Dujdao Vadhanapakorn. She’s a performance artist and stage director for B-Floor Theatre who is well known for her works Secret Keeper Theatre (2012-2015) and Blissfully Blind (2017). She is also a guest artist for Arin Rungjang’s 246247596248914102516…And then there were none (2017) displayed at contemporary art exhibition Documenta in Kassel, Germany. In addition, she was one of the artists featured in Bangkok Art Biennale 2018.

 

Vadhanapakorn is the first dance movement psychotherapist in the country who earned a degree in this particular field from Goldsmiths, University of London. Her interest in this subject stems from her curiosity about the connection between our bodily movements and our mind. Essentially, she seeks to find ways to connect our mind through our bodies. After graduation, she began to apply what she had learned into various performance arts with the intension to help people cope with mental disorders, while also creating arts that raise questions about the world we’re living in. Calling them “experiential performance,” she creates bodily movements that interact with the space, the buildings and the audience, inviting us all to find ways to reflect and relate. Her intension goes beyond visual effects – it seeks to bring about an experience.

 

In Secret Keeper, she questions whether society can truly provide us with the so-called “safe space.” She urges the audience to share their secrets and then turns these secrets into therapeutic performance arts, suggesting that human trust can be shared, learned and reinvented.

 

Text : Panu Boopipattanapong

Image : Thay Litichai Siriprasitpong

 

Market Goers.

คุณชอบไปตลาดไหมครับ?

 

เวลาเดินทาง สถานที่สำคัญที่ผมต้องดั้นด้นไปถึงให้ได้ – ก็คือตลาด

 

ตลาดในที่นี้ มีทั้งตลาดสด ตลาดพื้นเมือง ตลาดเกษตรกรอย่างที่เรียกกันว่า Farmers’ Market ไปจนถึงตลาดแบบซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ผู้คนในเมืองนั้นๆ เข้าไปจับจ่ายใช้สอยกันจริงๆ แม้จะไม่มีอะไรสวยงามหวือหวาเลยก็ตามที

 

ทุกหนแห่งทั่วโลก ตลาดคือ ‘ใจกลาง’ ของมาตรฐานการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองนั้น ดังนั้นการเดินตลาดจึงทำให้เราเห็นชัดเจนว่าคนในเมืองนั้นๆ มีรสนิยมอย่างไร การเดินตลาดจึงมอบประสบการณ์แบบท้องถิ่น (Locality) ให้เราโดยที่ใช้เวลาไม่มากนัก

 

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตลาดทำให้เราได้เห็น ‘ชีวิต’ ของสถานที่แห่งนั้น

 

ในเอเชีย ตลาดสำคัญๆ มักจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า เช่น ตลาดที่เมืองทากายามะในญี่ปุ่น ตลาดเช้าริมแม่น้ำของเมืองเล็กๆ แห่งนี้ จะคลาคล่ำไปด้วยผู้คนและการซื้อขายข้าวของ ‘ทำมือ’ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นผักดองจากในท้องถิ่น มิโซะ ผลไม้สดตามฤดูกาล หรือขนมของกิน (เช่น ดังโงะ ฯลฯ) มากมาย จนกลายเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญของเมืองไปเลย

 

ส่วนตลาดในโลกอาหรับหรือตะวันออกกลาง เช่น ตลาดในอียิปต์ ดูไบ ตุรกี หรืออิหร่าน จะพบว่าตลาดของเขาที่เรียกว่า ‘บาซาร์’ (Bazaars) มักมีลักษณะแคบยาวเป็นแถบๆ (Strip) โดยมีร้านรวงต่างๆ อยู่สองข้างทาง ตลาดเหล่านี้มีจุดเด่นชัดเจนหลากหลาย เช่น เป็นตลาดเครื่องเทศที่เต็มไปด้วยสีสันและกลิ่นหอม หรือตลาดค้าอัญมณีและตลาดค้าทอง เป็นต้น

 

นอกจาก Bazaars แล้ว ตลาดในตะวันออกกลางยังมีอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า Souq หรือ Souk ด้วย ที่จริง Souk ก็เหมือนกับ Bazaar แต่อาจมีลักษณะเป็น ‘ย่าน’ (Quarter) มากกว่า Bazaar คือไม่ได้แคบยาวอย่างเดียว ทว่ามีขนาดใหญ่กินพื้นที่กว้างขวางกว่า

 

ตลาดแบบแคบยาวไม่ได้มีเฉพาะในตะวันออกกลางเท่านั้น ในญี่ปุ่นอย่างโอซาก้า ตลาด Kuromon ซึ่งถือว่าเป็น ‘ครัว’ ของโอซาก้า มีร้านรวงมากมายกว่า 180 ร้าน พร้อมกับประวัติศาสตร์ของตลาดที่เก่าแก่นับย้อนไปได้มากกว่า 100 ปี ด้วย

 

ตลาดอีกแบบหนึ่งที่หลายคนในไทยปัจจุบันอาจไม่คุ้นเคยไปเสียแล้ว ก็คือตลาดแบบ ‘เปิดท้ายขายของ’ ที่เคยฮิตมากๆ ช่วงหลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำเพราะพิษต้มยำกุ้ง ตลาดแบบนี้ฝรั่งเรียกว่า Car Boot Sale คือแต่ละคนจะเอาของใส่ท้ายรถแล้วขับมารวมตัวกันเปิดเป็นตลาดขึ้นมา

 

ตัวอย่างของ Car Boot Sale ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก คือตลาดชื่อ Greenside Omni ในเมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์ ตลาดนี้เปิดขายเฉพาะเสาร์อาทิตย์เท่านั้น คุณอาจได้ถาดเงินสวยๆ เก่าแก่ ในราคาแค่หนึ่งปอนด์ รวมไปถึงของเก่าที่หาไม่ได้ในตลาดทั่วไปด้วย

 

ตลาดอีกแบบหนึ่งที่ให้ ‘ประสบการณ์’ ในการไป ก็คือตลาดแบบที่ฝรั่งเรียกว่า Wet Market ซึ่งก็คือ ‘กาดงัวกาดควาย’ แบบในภาคเหนือหรือภาคอีสานของไทย ตลาดแบบนี้คือตลาดซื้อขายปศุสัตว์ ที่จริงๆ ก็แพร่หลายในเอเชียและจีนมานานแล้ว รวมถึงในอินโดนีเซียและมาเลเซียด้วย การไปตลาดแบบนี้จะทำให้คุณได้เห็น ‘ชีวิต’ จริงๆ ของคน ตั้งแต่การกวาดต้อนฝูงปศุสัตว์มาตลาด การซื้อขาย การขนส่ง การล้มวัวควาย รวมถึงอาหารที่ทำกันสดๆ จากสัตว์เหล่านี้

 

ทุกวันนี้ แนวโน้มในการ ‘เที่ยวตลาด’ พุ่งสูงขึ้นเพราะผู้คนไม่ได้เดินทางเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น ทว่ายังเดินทางเพื่อนำตัวเองไปอยู่กับ ‘ประสบการณ์’ ณ ที่นั้นๆ ด้วย

 

และตลาด – น่าจะคือสถานที่แบบเดียวที่อัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ตรงของ ‘ความเป็น’ สถานที่แห่งนั้น

 

Do you like going to the market?

 

Wherever I travel, I always visit local markets. They are the essence of the local life. The indicators of people’s standard of living. Visiting local markets is one of the quickest ways we can observe “life.”

 

In Asia, many prominent markets are in full operation early in the morning. The Takayama morning market in Japan runs along the river and is packed full of people selling and buying artisanal products such as pickles, miso, seasonal fruits, snacks, and whatnot.

 

In the Middle East, we see narrow strips of shops and stalls. These bazaars are filled with endless choices of goods and are renown for colorful aromatic spices, precious stones and gold. Larger versions of bazaars are called Soug or Souk. Their sizes can be as big as an entire city quarter.

 

A car boot sale is another type of market where people come together to trade household items and secondhand goods. One of the largest car boot sales is called Greenside Omni in Edinburgh, Scotland. Here you’ll find an array of antiques like a beautiful silver tray sold for just £1.

 

Prevalent in Asia, the wet market is where people trade cattle. Those from north and northeast of Thailand rightly call it Gad Ngua Gad Kwai, or “cow and buffalo market.” You’ll witness much of the cattle business operation: logistics, trading, slaughter, and cooking.

 

Text : Tomorn Sookprecha

Illustrator : Pritika Sachanandani

Bantadtong Road.

หลังสุดที่ผ่านไปแถวถนนบรรทัดทอง รู้สึกตื่นเต้นจนกระเพาะร้องครวญครางสายตาปาดไปทีละร้านบนสองฝั่งถนนอย่างไม่อยากเชื่อสายตาตัวเอง

นี่มันร้านอาหารข้างถนนในความทรงจำของเราทั้งนั้นเลยนี่

 

ผลพวงจากการพัฒนาแบบทุนนิยมนำทาง ทำให้โครงสร้างเมืองแบบตึกแถวที่ครั้งหนึ่งคือการพัฒนาที่ยั่งยืนของเมืองแบบกรุงเทพฯ นั้น ค่อยๆ ถูกไล่รื้อลงไปทีละส่วนเพื่อพัฒนาให้เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีความหนาแน่นบนที่ดินมากขึ้น สิ่งที่เคยคิดว่ายาก เช่น การไล่ซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ หลายสิบแปลงมารวมกันเป็นแปลงใหญ่ เพื่อมาพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ด้วยปัจจัยของราคาที่ดินที่สูงขึ้นไปหลายสิบเท่าตัวจากตอนที่ตึกแถวเหล่านั้นถูกสร้างขึ้น ปัจจุบันที่ดินแปลงเล็กน้อยเหล่านั้นก็ถูกซื้อขายไปอย่างว่านอนสอนง่าย และเป็นผลให้ตึกแถวที่อยู่บนที่ดินเหล่านั้นถูกรื้อถอนทิ้งไปตามกัน

 

ตึกแถว เป็นอาคารพาณิชย์ที่มีโครงสร้างการใช้งานแบบ Multiple Use ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ค้าขายด้านล่าง อยู่อาศัยด้านบน ลดการจราจรเพื่อไปทำงานบนท้องถนน แถมยังมีการเข้าถึงจากทางเท้าได้ง่าย ทำให้ทำมาค้าขายได้สะดวก ไม่มีอาคารพาณิชย์ในรูปแบบไหนที่จะสะดวกสบายไปกว่าตึกแถวอีกแล้ว จากตึกแถว 2 ชั้น กฎหมายก็ค่อยๆ อนุญาตให้ทำตึกแถวสูงขึ้นเรื่อยๆไปถึง 4 ชั้น ถ้าไม่ค้าขาย เอาไว้อยู่อาศัยอย่างเดียว เราก็เรียกให้สวยขึ้นว่าทาวน์เฮาส์ แล้วก็พัฒนาไปเป็นบ้านแฝด ทั้งหมดนี้ก็เป็นการพัฒนาด้านอาคารในผังเมืองที่เริ่มมาจากความนิยมอันยิ่งยวดของตึกแถวนี้เอง แต่เมื่อมูลค่าของที่ดินเพิ่มขึ้น การพัฒนาแบบตึกแถวที่สร้างจำนวนชั้นไปแค่ 2 ชั้น หรือ 4 ชั้น แบบที่ไม่เต็มศักยภาพของที่ดินที่อนุญาตให้สร้างกันได้ถึง 8 เท่า (ในบางพื้นที่) จึงเริ่มไม่สอดคล้องของการพัฒนาของเมืองในทางเศรษฐศาสตร์ ตึกแถวจึงกลายเป็นเนื้อเยื่อของเมืองที่ไม่พึงประสงค์อีกต่อไป

 

37 BANTADTONG 005A2165 HIRES.jpg

 

การรื้อตึกแถวลง ในทางประวัติศาสตร์ของเมือง ก็เท่ากับเป็นการค่อยๆ ลบประวัติศาสตร์ของเมืองที่เชื่อมโยงกับตึกแถวเหล่านั้นลงไปพร้อมๆ กัน อาคารพาณิชย์ที่เป็นจุดเริ่มต้นการทำมาหากินของผู้คนในยุคสร้างตัว หรือเหล่าบรรดา start up ในยุคบุกเบิก ซึ่งมีธุรกิจหลายอย่างที่คงอยู่มาตั้งแต่ยุคนั้น ก็มีจำนวนลดน้อยลงไปทุกวันด้วย หนึ่งในบรรดาธุรกิจ start up ที่เฟื่องฟูในยุคตั้งต้นของกรุงเทพฯ ก็หนีไม่พ้นธุรกิจการขายอาหารเป็นร้านในตึกแถว หรือบาง start up ที่ทุนน้อยหน่อยก็ต้องมาเปิดร้านขายกันหน้าตึกแถวตอนกลางคืนหลังร้านในตึกแถวปิดร้าน ทำให้กรุงเทพมหานครในอดีต เป็นเมืองแห่งสีสันของอาหารยามค่ำคืน และเป็นที่นิยมของคนเมืองกรุง ด้วยว่าอาหารเหล่านั้นราคาไม่แพง แถมส่วนใหญ่ก็รสชาติดีเพราะทุกคนแข่งขันกันหนีจากความยากจน มีสติปัญญาคิดสูตรหาวัตถุดิบมาปรุงขายกันอย่างสุดชีวิต แบบที่ start up ภูมิต้านทานความลำบากต่ำในสมัยนี้ต้องอายม้วนกันเลยทีเดียว และด้วยสาเหตุนี้เอง กรุงเทพฯ จึงมีย่านอาหารริมถนนเต็มเมืองไปหมด อาหารถูกรสชาติดี ที่รับประทานกันได้ทั้งคนมีเงินน้อยและคนมีเงินเยอะ ใครบ้างล่ะจะไม่ชอบอาหารข้างถนนเลิศรสเหล่านั้น และเป็นสาเหตุให้อาหารข้างถนนมีชีวิตยืนยาวมาได้เกือบศตวรรษ

 

จนกระทั่งอวสานของตึกแถวเริ่มคืบคลานมาถึง

 

ย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่เป็นย่านอาหารข้างถนนที่ได้รับความนิยมคือสามย่านฝั่งบัญชีจุฬาฯ และสามย่านฝั่งคณะนิติศาสตร์จุฬาฯ และต่อเนื่องเรื่อยยาวไปถึงสะพานเหลืองจนจบหัวลำโพงสามย่านส่วนแรกนั้นถูกไล่รื้อลงไปก่อนเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน เพื่อพัฒนาเป็นโครงการของทางจุฬาฯ เอง บรรดาร้านอาหารที่เราชื่นชอบก็เลยต้องพร้อมใจย้ายไปรวมตัวกันแถวบริเวณด้านใกล้กับถนนบรรทัดทองที่เราเรียกกันว่าสวนหลวง และกลายเป็นปรากฏการณ์อาหารข้างถนนย่านสวนหลวงที่ได้รับความนิยมอยู่พักหนึ่ง ไม่นานต่อมา ทางจุฬาฯ ก็มีนโยบายที่จะพัฒนาย่านสวนหลวงต่อไปอีกครั้ง ประกอบกับตึกแถวย่านสะพานเหลืองพระรามสี่หลายบล็อคก็เริ่มถูกไล่รื้อเพื่อทำการพัฒนาโดยเอกชนเช่นกัน เป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นของเหล่าร้านอาหารข้างถนนที่เราโปรดปรานเสียเหลือเกิน และดูเหมือนจะต้องเป็นอวสานของร้านโปรดของพวกเราเป็นแน่แท้ เพราะคราวนี้ดูเหมือนจะไม่มีที่ไหนในย่านที่สามารถจะขยับขยายไปขายของกันที่ไหนได้อีก

 

แต่ที่ไหนมีชีวิต ที่นั่นก็มีทางออก

 

เหล่าบรรดาร้านอาหารจากย่านสวนหลวงและสะพานเหลืองพระรามสี่ ต่างก็รวมใจมุ่งหน้าเข้ายึดตึกแถวซ้ายขวาบนถนนบรรทัดทอง ที่ก่อนหน้านี้มีความเงียบเหงาเนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซาและหลายร้านค้าต่างย้ายกันไปขายในห้างใหญ่ ทำให้หลายห้องว่างลงและราคาค่าเซ้งไม่น่าจะแพงเกินไป เป็นสมการที่ร้านอาหารข้างถนนเหล่านั้นโปรดปราน ค่าเช่าถูก อาหารอร่อยราคาถูก ลูกค้าเยอะ ขายกันได้ดึกนานๆ แล้วปรากฏการณ์ที่น่าสนใจด้านผังเมืองก็เกิดขึ้นอีกครั้งโดยไม่ต้องอาศัยการออกแบบของสถาปนิกหรือนักผังเมืองใดๆ ที่เนรมิตให้ถนนบรรทัดทองกลายเป็นสวรรค์ของผู้ที่รักในการสรรหาอาหารอร่อยราคาถูก ทุกค่ำคืนบนถนนสายนี้ แสงไฟจะสว่างไสวจนดึก ริมฝั่งถนนเด็กนักเรียนนิสิตนักศึกษาเดินกันขวักไขว่ตั้งแต่ฝั่งพระรามสี่ไปจนยันพระรามหนึ่ง ทุกคนต่างเพลิดเพลินกับชีวิตที่รายล้อมไปด้วยของกินเลิศรสที่เราคุ้นตาสมัยยังเด็กอยู่หลายร้าน ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง โจ๊ก ห่านพะโล้ อาหารทะเล มีทุกสิ่งที่อยากกินดูมันละลานตาไปหมดและคิดว่าสามารถเดินไล่กินไปทุกร้านได้อีกเป็นเดือนโดยไม่เบื่อได้

 

เมืองมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจเสมอ บนพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน ไม่ใช่บนพื้นฐานองค์ความรู้ที่ตื้นเขินของสถาปนิกหรือนักวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว วิธีเดียวที่จะสร้างเมืองได้คือการเดินบนถนนและใช้ชีวิตอยู่กับคนในเมืองจริงๆ และไม่ใช่บนหน้าจอหรือแค่หน้าโต๊ะทำงาน และนั่นคือความสุขเหลือเกินสำหรับการเป็นคนเมืองและการมีชีวิต

 

Indeed, true urbanism starts

in the streets where life really happens.

 

Last time I visited Bantadtong Road, I couldn’t quite believe my eyes. As I gazed from one shop to the next, I recalled – with a rumbling stomach – that they were my favorite street foods from the past. Yet their emergence is only the surface of a long history of shop houses.

 

For a long time, the shop house was the most popular kind of multi-use commercial buildings in Bangkok. The ground floor was for business use, while the upper floors were the living areas. As roadside businesses, shop houses were close to pedestrians who brought business opportunities. In truth, there was unlikely any commercial building more sensible than the shop house. And for decades, shop houses remained the epitome of urban living. But in this modern era when property prices have skyrocketed, many seem to think it’s not commercially viable to have four-storied buildings in major business districts especially when you can replace them with multi-million Baht real estate projects.

 

But demolishing shop houses is equal to erasing an important part of our urban history. These buildings housed many pioneer entrepreneurs who turned shop houses into restaurants and food stalls, adding excitement and colors to Bangkok’s city life. They played a major role in our street food scene, offering food that was abundant, cheap and exceptionally delicious.

 

One of Bangkok’s most diverse street food scenes was a clutter of neighborhoods namely Saphan Lueng, Hua Lamphong and Sam Yan. But most food shops in these areas have ceased to exist after the landlords terminated the leases, paving ways for private investors to build mega real estate enterprises. Within the past 2 decades, they have been through multiple relocations to the point where it seemed as if there were no places for them to do business anymore.

 

But life always finds a way. These evicted food shops have made a collective effort to take over both sides of the nearby Bantadtong Road. Once desolate, this three-kilometer shortcut connecting Rama I Road to Rama IV Road is now a bustling paradise for city dwellers and tourists looking for a great dining experience on the streets. Compared to their previous locations, the newly opened shops also reap the benefits of cheaper rents. So every night, you’ll see them put on colorful shows of delicious food the same way they’ve been doing for generations: noodles, chicken and rice, roast pork and rice, congee, five-spiced braised geese, made-to-order seafood dishes and much more.

 

Urban development is a fascinating evolution that sometimes takes its own course without any architects or academics who spend most time in office cubicles. Indeed, true urbanism starts in the streets where life really happens.

 

Text : Duangrit Bunnag

Photography : Kong Pantumachinda

Retouching : Nutcha Pajareya

Above the Surface of the Earth.

My inspiration was the sky.

It’s something that has always

fascinated me.

 

ภายใต้ความสวยงามของท้องฟ้าและน้ำทะเลสองสิ่งที่ต่างเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินมากมาย เธอคนนี้ก็เช่นกัน ผู้ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกผ่านวัตถุ และวัตถุที่ว่านั้นคืองานเซรามิกนั้นเอง

 

ในยุคที่โลกของเราต่างให้ความสนใจในด้านเทคโนโลยีค่อนข้างมาก การพัฒนาบ้านเมือง ปัญหาการจราจรต่างๆ บางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็บั่นทอนสุขภาพจิตเราไปโดยไม่รู้ตัว ทุกวันนี้จึงมักจะพบกับการเวิร์กชอปต่างๆ ไม่ว่าจะคอร์สวาดรูประยะสั้น การเย็บปักถักร้อย และการทำเซรามิก คล้ายกับว่าคนเมืองต้องการจะหลีกหนีความวุ่นวาย เพื่อใช้ชีวิตให้ช้าลงและสัมผัสกับธรรมชาติให้มากขึ้น

 

เราจึงพาคุณมาพบกับเจ้าของงานเซรามิกหน้าใหม่ด้วยวัยเพียงยี่สิบต้นๆ คุณเอิร์ธ – ปพิชชา ธนสมบูรณ์ นิสิตจากรั้วมัณฑนศิลป์ศิลปากร เจ้าของผลงาน ABOVE THE SURFACE OF THE EARTH รางวัล Silver Prize จากงาน The 19th National Ceramic Exhibition ผู้ที่เรียกได้ว่าไม่ได้หลงใหลในดินมาแต่แรก หากแต่โชคชะตาที่ทำให้เธอมาพบกับคำว่า ‘เซรามิก’

 

  • ทำไมถึงเลือกเรียนเซรามิก

ตอนแรกอยากเข้าประยุกตศิลป์หรือทัศนศิลป์ แต่ติดเซรามิกที่ศิลปากร จริงๆ สอบติดหลายที่ แต่เราก็ยังเลือกเซรามิก ด้วยความที่ชอบในการเพ้นท์ การใช้สีและสนใจในกระบวนการของมัน เพราะว่าชอบอะไรที่ยุ่งยาก ซับซ้อน มีขั้นตอน มีเสน่ห์ในตัว เลยลองเรียนดูกลายเป็นว่ายิ่งเรียนยิ่งชอบงานเซรามิกมากขึ้นเลยคิดว่ามันอาจจะเป็นโชคชะตาของเรา

 

  • ค้นพบความเป็นตัวเองในงานเซรามิกได้อย่างไร

สไตล์งานเราคือเทคนิค ‘Nerikomi’ เป็นเทคนิคของญี่ปุ่นที่มีมานานมาก คือการใช้ดินสีต่างๆ มาทับซ้อนกัน ตัดต่อให้เกิดเป็นลวดลายบนภาชนะ งานเซรามิกส่วนใหญ่ที่พบเห็นทั่วไป จะเป็นการเพ้นท์หรือให้สีสันด้วยการเคลือบ แต่พอเรานำดินสีมาตัดต่อกัน จะสามารถมองเห็นลวดลายได้ทั้งด้านในและด้านนอก ซึ่งเทคนิคนี้เราเรียนรู้ตอนอยู่ปีสามวิชาดินสีเป็นวิชาเลือก ตอนนั้นได้ลองทำเทคนิคง่ายๆ เช่น ลายวงกลม ลายดอกไม้บนชามส่วนใหญ่งานที่ทำจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติหรือสิ่งรอบตัว เริ่มต้นจากโปรเจกต์ตอนปีสาม ทำเรื่องเกี่ยวกับทะเล จะเป็นพื้นผิวของทราย คลื่น สีของท้องฟ้า และแสงที่กระทบน้ำ ผสมผสานเข้ากับเทคนิคเนริโกมิ หลังจากนั้นก็ต่อยอดมาเป็นทีสิส จึงนำเทคนิคนี้มาใช้อีกครั้ง

 

  • คอนเซ็ปต์ในการงานประกวดของเราคืออะไร

แรงบันดาลใจมาจากท้องฟ้า เพราะเป็นคนชอบธรรมชาติ รู้สึกว่าท้องฟ้ามันมีเสน่ห์ มีความไม่เหมือนกันในแต่ละวัน เลยนำมาเล่นกับงาน คิดว่าน่าจะสนุกดี เพราะงานเราไม่มีชิ้นไหนซ้ำกันอยู่แล้ว เลยดึงสีสันของท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ ออกมาเป็นงาน 10 ชิ้น ซึ่งงานทั้งหมดมาจากทีสิส หลังจากทีสิสก็นำไปประกวดที่งานเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ เป็นงานใหญ่ระดับประเทศ จัดขึ้นสองปีครั้ง เปิดโอกาสให้ศิลปินช่างปั้นทั่วประเทศมาสมัครเราได้รางวัลที่ 2 หรือ Silver Prize ถือเป็นการประกวดครั้งแรกเลย

 

  • ส่วนที่ยากที่สุดของการขั้นตอนการทำเซรามิก

ตอนปั้นเราจะไม่เห็นสีเลย ทุกอย่างเป็นดินสีเทาดำหมด ต้องใช้การจำและใช้จินตนาการว่าควรวางสีอะไรไว้ตรงไหน เพราะเราจะสามารถเห็นสีหลังจากเผาเสร็จเท่านั้น การควบคุมจังหวะดินก็สำคัญ เพราะดินสีคือการใช้ดินหลายๆ สี มาทับซ้อนกัน ไม่ได้ขึ้นเป็นรูปเป็นแผ่นชิ้นเดียว ตอนเชื่อมก็ต้องรีดให้ดี ไม่งั้นแต่ละสีจะแยกตัวออกจากกัน การนวดดินก็เช่นกัน นวดอย่างไรให้ไม่มีฟองอากาศ ถ้าเริ่มต้นนวดไม่ดี ตอนนำไปเผาจะแตกหักได้ง่าย

 

  • หลังจากเรียนจบและประกวด ยังทำงานด้านเซรามิกอยู่ไหม

ปัจจุบันทำธุรกิจต่อจากที่บ้าน เป็นช่างจัดดอกไม้ นำเข้าดอกไม้ และรับงานอีเวนต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับดอกไม้ มีการสอนทำเวิร์กชอปเซรามิกบ้าง แรกเริ่มที่ Mass Studio เจ้าของสตูดิโอให้เราสอนตั้งแต่เรียนอยู่ปีสอง และกำลังจะมีหนังสือเกี่ยวกับเซรามิกออกประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ยังมีงานจัดแสดงที่เชียงใหม่ดีไซน์วีค เป็นผลงานในอีกมุมมองหนึ่งที่มีต่อท้องฟ้า สามารถติดตามได้ที่อินสตาแกรม @flowersinthevase.ceramics

 

  • มีงานคราฟต์อย่างอื่นอีกไหมที่อยากลองทำอยากลองทำแก้ว เพราะมีหลายขั้นตอนที่น่าสนใจ แต่เราก็ไม่ได้มีความรู้กับเรื่องนี้สักเท่าไหร่ และในประเทศไทยยังไม่มีคนทำงานคราฟต์ที่เกี่ยวกับแก้วมากนัก จริงๆ อยากศึกษาต่อด้านนี้เหมือนกัน อย่างในต่างประเทศจะมีให้เลือกเรียนเป็นวิชา Ceramic and Glass ชัดเจนไปเลย

 

  • มีมุมมองเกี่ยวกับงานเซรามิกไทยไว้ว่าอย่างไร

งานเซรามิกมีหลายเทคนิค สามารถเล่นได้ค่อนข้างเยอะ ต่อให้เป็นแค่เพ้นท์ก็ตาม เคยคิดจะทำเป็นรูปทรงเดียว แต่เป็นลายที่เราทำ แล้วค่อยหล่อทับอีกที ช่วง 3 – 4 ปีมานี้ เซรามิกเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น มีการจัดเวิร์กชอปในหลายสถานที่ แต่ก็ยังเฉพาะกลุ่มอยู่ดี ด้วยความที่เป็นงานแฮนด์เมด ต้นทุนมาจากการลงแรง คนที่ชื่นชอบมักจะยอมจ่ายในราคาที่สูง เพราะเข้าใจดีว่ามีเพียงชิ้นเดียวในโลก แต่คนส่วนใหญ่ยังติดภาพชามไก่อยู่

 

หลังจากบทสนทนาจบลง คุณเอิร์ธเชิญเราไปชมการเวิร์กชอปเล็กๆ ทำให้เรารู้ว่าแท้จริงแล้ว ปลายทางมันไม่ได้สำคัญเท่าระหว่างทางแม้ผลลัพธ์จะแตกจะหักจะไม่สมบูรณ์ แต่ระหว่างทางต่างหากที่ทำให้เราอิ่มเอมกับมันสีหน้าของผู้เข้าร่วมเวิร์กชอป ต่างมีความสนุกขณะนวดดิน การเลือกใช้สี การออกแบบลวดลาย เป็นการเติมเต็มบ่ายแก่ๆ ของวันอาทิตย์ให้กับคนเมืองได้อย่างแท้จริง

 

Young ceramist Papitcha “Earth” Thanasomboon is the Silver Prize winner of the 19th National Ceramic Exhibition for her work Above The Surface of The Earth. Despite her success at an early age, she admits ceramic making wasn’t always part of her aspirations.

 

  • What drew you to ceramic making?

At first I wanted to study Applied Arts or Visual Arts but was accepted into Faculty of Decorative Arts at Silpakorn University with a major in Ceramics. I had always loved painting and been curious about the intricate process of ceramic making, so I decided to give it a try. The more I studied, the more I enjoyed it. So I guess it’s my destiny to become a ceramist.

 

  • How did you develop your style?

My style is based on an ancient Japanese technique called “Nerikomi” which requires the layering of colored clays on top of each other before moulding into shapes. Most of my works are inspired by nature. My third-year project was about the sea; I drew inspirations from sand textures, the waves, the water reflecting sunlight and the sky color.

  • What was the idea behind the project that has won you the national prize?

My inspiration was the sky. It’s something that has always fascinated me. I created 10 ceramic works, all reflecting the changing hues of the sky.

 

  • What’s the hardest part about ceramic making?

When shaping clay, we’re basically working without any color reference; you only see the dark grey color of the clay. The real colors only appear after your work has been in the furnace. So we need to use our memory and imagination to create the patterns we want.

 

  • Will you continue making ceramics after graduation?

I’m continuing my family’s flower arrangement business. My book about ceramic will be on shelf in November. My ceramic work will also be exhibited at Chiang Mai Design Week. You can check out my Instagram account: @flowersinthevase.ceramics

 

  • What’s your thought on ceramics in Thailand?

People are becoming more and more interested in ceramics. We see an increasing number of people attending ceramic workshops. They’re also willing to pay more for handcraft ceramics, knowing that each piece is one of a kind. However, I think most Thais still associate ceramics with the ubiquitous rooster bowl.

 

Text : Jularat Hanrungroj

Photography : Rumpaporn Vorasiha

 

Double Bubble Tea.

 

When first introduced in Thailand, bubble tea was very much a phenomenon.

 

ชานมไข่มุกไอเทมของยุคถ้าพูดถึงแฟชั่นยุค 90’s สิ่งที่เป็นภาพจำของเราสำหรับยุคนั้นเลยก็คงหนีไม่พ้นแฟชั่นหรือไอเทมที่ฮิต ณ ตอนนั้นไม่ว่าจะเป็น รองเท้าส้นตึก เสื้อสายเดี่ยว ซาวด์อะเบาท์ และเชื่อไหมว่าชานมไข่มุกก็เป็นอีกหนึ่งในไอเทมของยุคนั้นเช่นกัน ซึ่งจนมาถึงยุคนี้คนก็ยังให้ความนิยมอยู่ ถ้าให้เปรียบเทียบการเดินทางของชาไข่มุกแบ่งออกเป็นยุคจนถึงตอนนี้ ตั้งแต่ที่เริ่มเข้ามาทำให้คนไทยรู้จักรสชาติถ้าใครเป็นวัยรุ่นที่เดินสยามยุคนั้นจะเข้าใจดีเพราะเวลาเดินไปไหนมาไหนเราก็จะเห็นคนถือแก้วชานมไข่มุกที่ดูสะดุดตา ด้วยความที่รูปทรงของแก้วมีขนาดยาวเป็นกระบอกทรงสูง ไม่เหมือนใครมันทำให้รู้ทันทีว่าคนที่ถือกำลังดื่มอะไรอยู่นอกจากรูปทรงแก้วแล้วสิ่งที่เป็นเสน่ห์ของมันอีกอย่างก็คือรสชาติชาที่กลมกล่อมกับไข่มุกที่ให้สัมผัสเพลิดเพลินเวลาเคี้ยว มันเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ของการกินชาเลยก็ว่าได้ ทำให้พอเข้าไทยปุ๊บก็บูมปั๊บแบบต้องต่อแถวรอซื้อกันเลยทีเดียว และมาถึงช่วงยุคที่ชานมเริ่มแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีตั้งแต่ร้านในห้างจนไปถึงร้านรถเข็นเราเริ่มหาทานชานมไข่มุกง่ายขึ้น ประสบการณ์แปลกใหม่ที่เราเคยได้รับจากชานมไข่มุกก็เริ่มหายไป ถึงร้านจะเยอะขึ้นแต่ก็ไม่ได้นิยมมากเหมือนแต่ก่อน แก้วทรงสูงที่เคยอยู่ในความทรงจำ ณ ตอนนั้นก็เริ่มหายไปด้วย ถ้าใครเก็บไว้ถือว่าเป็นของแรร์ไอเทมเลยล่ะ จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เริ่มมีร้านชานมไข่มุกใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ละร้านก็แข่งขันกันโดยการอัปเกรดคุณภาพและมีเมนูแปลกใหม่ตลอด และยิ่งในยุคสมัยที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยแล้วการที่สั่งชานมไข่มุกและสามารถเลือกระดับความหวานได้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ในยุคนี้คนเริ่มกลับมานิยมชานมไข่มุกอีกครั้ง เราที่เป็นสายชานมไข่มุกอยู่แล้วยิ่งชอบเข้าไปใหญ่มันสามารถเป็นเครื่องดื่มที่ทานได้ทุกวันไม่เบื่อเลย คงจะคล้ายๆ กับคนที่ชอบดื่มกาแฟ ด้วยความที่ชานมไข่มุกมีเมนูใหม่ตลอด เมื่อไม่นานนี้ก็ได้มีโอกาสลองไข่มุกอุ่น เป็นไข่มุกที่ต้มในน้ำตาลทรายแดง พอดูดเข้าไปแล้ว สัมผัสแรกก็คือนมที่มีรสชาติกลมกล่อม กับกลิ่นน้ำตาลทรายแดงที่หอมขึ้นจมูกและไข่มุกอุ่นๆ เนื้อหนึบ เป็นความแปลกใหม่ที่ลงตัวมาก แต่ถ้าชอบที่สุดจริงๆ คงหนีไม่พ้นชานมไข่มุกแบบธรรมดานี่แหละแต่รสชาติที่บอกว่าธรรมดามันมีปัจจัยที่สำคัญมากซ่อนอยู่ก็คือความลงตัวของส่วนผสม 3 อย่าง ไม่ว่าจะเป็นชาที่ต้องมีรสชาติเข้มและกลิ่นหอมที่ชัดเจน กับนมสดที่ใช้ต้องมีรสชาติที่กลมกล่อมไข่มุกก็ต้องให้สัมผัสที่มีความนุ่มหนึบกำลังดีนิ่มเกินไปจนขาดง่ายก็ไม่ดี หรือแข็งจนเป็นไตตรงกลางก็ไม่ควร สิ่งนี้คือหัวใจหลักของชานมไข่มุกและมันเป็นไอเทมที่ใครหลายคนต้องถือทานแน่นอน

Text : Jularat Hanrungroj

 

 

Thailand in the 90’s… The images that pop into my mind are those of platform shoes, tank tops and the so-called “Soundabout” cassette players. And let’s not forget bubble tea.When first introduced in Thailand, bubble tea was very much a phenomenon. Teenagers roamed the alleys of Siam holding eye-catching tall glasses of flavored tea adorned with tapioca pearls. Soon enough they became the drink du jour, and people lined up for a taste. But when the fad had faded, there was a period of decline due to market saturation. Yet bubble tea quickly bounced back after sellers began to experiment with new flavors and toppings, while constantly improved upon the quality of ingredients. And with the option of choosing your preferred level of sweetness, they managed to win over the health-conscious crowd. Recently, I’ve tried a new bubble tea with the “bubbles” heated in brown sugar syrup. The combination of pleasantly warm chewiness with a hint of brown sugar and fresh milk was a delight on the taste buds. The three qualities you should look for in bubble tea are 1.) Strong and aromatic tea 2.) Fresh milk 3.) Soft yet chewy “bubbles”